ภูมิปัญญาเครือข่าย

ภูมิปัญญาชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิ มีความหมายว่า พื้น ชั้น พื้นเพ
ปัญญา หมายความว่า ความรอบรู้ ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด
ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นความรู้ ความสามารถ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น
การถ่ายทอดความรู้ หรือ การสอน หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้แสดงเข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)
ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนแต่พอทำความเข้าใจได้ดังนี้ หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความหมายคำว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้นว่า เป็นการเชื่อมโยงไปถึงความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน การประกอบอาชีพและการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ และถ้าจะพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนั้นหมายถึง เทคนิควิทยาพื้นบ้านได้ด้วย โดยสถานวิจัยสังคมได้ให้คำจำกัดความว่า เทคโนโลยีนั้นเป็นความรู้ว่าจะทำสิ่งต่างๆ อย่างไร โดยมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ เครื่องมือในการทำสิ่งนั้น ๆ และกระทบกันขั้นตอนในการทำสิ่งนั้น ๆ ซึ่งสามารถแยกได้ในลักษณะความรู้ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและความจำเป็นในท้องถิ่น เช่น การประยุกต์ใช้พลังคน สัตว์ และธรรมชาติ ตลอดจนองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ในอันที่จะเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การประยุกต์แนวความคิดที่เป็นมรดกของคนไทยในการประกอบอาชีพ โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักพิจารณากิจกรรมหรืออาชีพของชุมชน เช่น แถบพื้นที่หรือท้องถิ่นใดเป็นที่ราบลุ่ม กิจกรรมของชุมชนก็คือ การทำนา หรือการปั้นโอ่ง และตุ่มน้ำจากดินเหนียว หรือการแกะสลักไม้เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นต้น ในการสัมมนาทางวิชาการ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเครือข่าย นั้นได้ให้คำจำกัดความของคำว่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom หรือ popular wisdom) คือ พื้นฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือ คือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้ และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็นความรู้สะสมสืบต่อกันมา

ความหมายของภูมิปัญญาไทย
จากการศึกษาความหมายของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมคำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย สามารถรวบรวมได้ดังนี้
1.ภูมิปัญญา
คำว่า ภูมิปัญญา ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า wisdom ซึ่งมีความหมายว่า ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์
2.ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
คำว่าภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้ความหมายว่า เป็นองค์ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสม และสืบทอดกันมาอันเป็นความสามารถ และศักยภาพในเชิงแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้ และสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อการดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เผ่าพันธุ์หรือเป็นวิถีของชาวบ้าน
3.ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดจากการสะสมการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเชื่อมโยงกันไปหมดในทุกสาขาวิชาไม่แยกเป็นวิชา ๆ แบบที่เราเรียน ฉะนั้นวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจอาชีพ ความเป็นอยู่เกี่ยวกับการใช้จ่าย กับการศึกษาวัฒนธรรมมันจะผสมผสานกลมกลืนเชื่อมโยงกันไปหมด
4.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นองค์ความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่สั่งสมสืบทอดกันมา อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถที่จะใช้แก้ปัญหา ปรับตัว เรียนรู้ และมีการสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ หรือคือแก่นของชุมชนที่จรรโลงชุมชนให้อยู่รอดจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชน และในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษาและนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ ตามยุคตามสมัยได้
5.ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย เป็นผลของประสบการณ์สั่งสมของคนที่เรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มชนเดียวกัน และระหว่างกลุ่มชุมชนหลาย ๆ ชาติพันธุ์ รวมไปถึงโลกทัศน์ที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ภูมิปัญญาเหล่านี้เคยเอื้ออำนวยให้คนไทยแก้ปัญหาได้ดำรงอยู่ และสร้างสรรค์อารยธรรมของเราเองได้อย่างมีดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในระดับพื้นฐานหรือระดับชาวบ้าน
กลุ่มเป้าหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายที่รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในท้องถิ่น ส่วนมากจะเป็นคนในครอบครัว เป็นญาติโดยสายเลือด เนื่องจากความรู้บางอย่าง ผู้รู้ทั้งหลายมักหวงแหนมาก จะไม่แพร่งพรายให้คนอื่นๆ รู้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะสาเหตุหลายประการ คือ
1. กลัวการแก่งแย่งการทำมาหากิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่จะต้องทำผลผลิตเพื่อค้าขาย
2. กลัวเรื่องชื่อเสียง เกียรติภูมิ และกลัวคนอื่นขโมยภูมิปัญญา ถ้าถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นแล้วเขาทำดีกว่า เจ้าตำรับก็จะไม่มีชื่อเสียง
3. มีความเชื่อและถือสัจจะจากปู่ ย่า ตา ทวด ที่ต้องการปกปิดเคล็ดลับหรือกลวิธีการผลิต
4. สื่อและเทคโนโลยียังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ปัจจุบันนี้ กลุ่มเป้าหมายของการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นขยายไปสู่สาธารณชนทั่วไปบ้างแล้ว อาจเนื่องจากสาเหตุต่างๆต่อไปนี้
1.ได้รับการกระตุ้นและการสร้างความตระหนักจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น หน่วยงาน พัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานเกษตร ฯลฯ
2. การถ่ายทอดความรู้ได้รับค่าตอบแทน ภูมิปัญญาท้องถิ่นบางคนจะตั้งราคาวิชาไว้มากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดสำหรับวิชาอาชีพนั้นๆ
3. สื่อต่างๆในปัจจุบันมีมากมายหลายประเภท ภูมิปัญญาสามารถถ่ายทอดความรู้โดยใช้สื่อต่างๆได้อย่างสะดวก หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ภูมิปัญญาก็สามารถถ่ายทอด สืบทอดความรู้ได้อย่างกว้างขวาง
4. ความจำเป็นในการผลิต ทำให้ภูมิปัญญาต้องถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นๆนอกเหนือจากคนในครอบครัวหรือผู้สืบสายเลือด เพื่อเพิ่มผลผลิตสู่ตลาด
สาขาของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ บุคคลผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆ มาอย่างมากมาย ความรู้ดังกล่าวเป็นความรู้ที่นำมาปฏิบัติ มีผลผลิตที่เป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ความรู้ ความสามารถดังกล่าว เป็นสิ่งที่สะสมมานาน เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุผลในตัวเองที่น่าศึกษา ควรอนุรักษ์และสืบทอด
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น นั้นมีอยู่มากมายในท้องถิ่น แต่ละคนต่างมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มีผลงานเพื่อการดำรงชีวิตที่แตกต่างออกไปหลายด้านหลายสาขา ดังนี้
1. สาขาเกษตรกรรม
คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และมีผลงานด้านการทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ประมง ทำไร่นาสวนผสม ฯลฯ โดดเด่น เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง มีรายได้จากผลผลิตด้านนี้ มีแนวคิดที่ดี แปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์และช่วยพัฒนา อาชีพด้านนี้ได้อย่างน่าสนใจ เช่น เป็นผู้คิดริเริ่มการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแบบพอเพียง เกษตรที่เอื้อประโยชน์ต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. สาขาคหกรรม
คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีผลงานโดดเด่นในเรื่องต่อไปนี้
2.1 ด้านอาหาร เป็นต้นตำรับการปรุงอาหารที่มีรสชาติอร่อย ให้คุณค่าด้านโภชนาการ ใช้วัสดุที่มีราคาไม่แพง วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น รู้จักคิด ดัดแปลงสูตรอาหารได้แปลกใหม่ หรือเป็นผู้ที่สืบสานตำรับตำราที่มีอาหารรสเลิศ สามารถผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายได้ เช่น การทำปลาร้า การทำส้มหรือแหนม ขนมต่างๆ ฯลฯ
2.2 ด้านงานประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม สามารถทำเป็นอาชีพจำหน่ายได้ สามารถทำเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ เช่น การทำผ้านวม การตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ
2.3 ด้านที่อยู่อาศัย สามารถจัดบ้านเรือน บริเวณได้น่าอยู่ น่าอาศัยตามอัตภาพ ทำให้มีสุขภาพอนามัยในการอยู่อาศัย
3. สาขาศิลปกรรม
คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีผลงานโดดเด่นในเรื่องต่อไปนี้
3.1 ด้านจิตรกรรม คือ การวาดภาพฝาผนัง การเขียนภาพลงบนผ้า หน้าผา การสักลาย ฯลฯ
3.2 ด้านประติมากรรม คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีฝีมือในการปั้น แกะสลัก การหล่อ เช่น หล่อพระพุทธรูป ปั้นโอ่ง สลักลวดลาย ประดับต้นเทียน สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ
3.3 ด้านสถาปัตยกรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เรื่องการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โบสถ์ ศาลา ศาลพระภูมิ ฯลฯ
3.4 ด้านหัตถกรรม (งานช่างฝีมือ) คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานในสิ่งที่ทำด้วยมือ เช่นเครื่องจักรสานต่างๆ
3.5 ด้านงานประดิษฐ์ คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการจัดทำผลงานเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ บายศรี การแต่งลวดลายบนแผ่นผ้า ฯลฯ
3.6 ด้านดนตรี นาฏศิลป์และการเล่นพื้นบ้าน คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเล่นดนตรี การขับลำ การฟ้อนรำ การคิดวิธีการเล่นพื้นบ้าน หมอลำ การเล่นหนัง ลิเก เพลงกันตรึม ฯลฯ
4. สาขาสาธารณสุข
คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ด้านการใช้ยาสมุนไพร การรักษาโรคแผนโบราณ การรักษาสุขภาพอนามัยร่างกาย การสืบสานตำราสมุนไพร หมอนวดแผนโบราณ หมอตำแย ฯลฯ
5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการแต่งวรรณกรรมพื้นบ้าน การคิดประดิษฐ์อักษรภาษาถิ่น การสืบสานอักษรโบราณ วรรณกรรมท้องถิ่น ฯลฯ
6. สาขาศาสนาและประเพณี
1. ด้านพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีผลงานเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น หมอสูตรขวัญ ฯลฯ
2. ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และมีผลงานด้านโหราศาสตร์หรือหมอดู ฯลฯ
3. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการปฏิบัติตามขนบประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ
4. ความเชื่อในเรื่องต่างๆ
7. สาขาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยชาวบ้าน เพื่อใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
ข้อมูลจาก www.mbulan.com

ดาวน์โหลดภูมิปัญญาชาวบ้าน



สาขา โหราศาสตร์
1. นายเสริม เตชะเกษม


สาขา วิชาการด้านการศึกษา
1. นางสาวประภา งามไพโรจน์


สาขา ดนตรีนาฏศิลป์และการละเล่นพื้นบ้าน
1. นายทวีศักดิ์ ธีระวัฒนโยธิน
2. นางสุภา จองแค
3. นางจรูณศรี ศรีมิ่งวงศ์
4. นางสุนีย์ สุคนธมาน
5. นางสาวนงคราญ คุ้มวิริยะ
6. นางสมพร กองเพ็ง
7. นายบาง ทวีวัลย์
8. นายจำนงค์ ติปยานนท์
9. นายบุญช่วย เจริญธรรม
10. นางศนัจจา สุธารณกร
11. นายมารยาท ขุนคงเสถียร
12. นายสมรักษ์ เพิ่มกำลังเมือง
13. นางทนา ทองพัดภู่
14. นายอารีย์ เอมอ่อน
15. นางสาวบุศริน แก้วขาว
16. นางจันทร์เพ็ญ ธรรมเจริญ
17. นายประสงค์ คุ้มทรัพย์
18. นายประสงค์ จันทร์เทศน์
19. นางสุดไฉน สุวรรณมิสระ
20. นายกมล จันทร์สุวรรณ
21. นยสุทธินาถ เงินชูกลิ่น
22. นางมาลี ศรีดี
23. นางสุดสวาท จันทร์เกษม
24. นางสมพร ทองสว่าง
25. นายวิเชียร จันทร์เกษม
26. นายสะอาด สื่อเฉย


สาขา หัถกรรม
1. นางสาวบังเอิญ ต่วนเอี่ยม
2. นางอุไร ทองเปีย
3. นางสาวสายหยุด จินดารักษ์
4. นางสาวจีบ จิตเอื้อ
5. นางสมจิตต์ สุทธิโรจน์
6. นางสาวจิตต เจริญโสภา
7. นางพิมพา พุ่มผลงาม
8. นางสาวลมัย เจริญนาน
9. นางบรรยล บรรณวิจิตร
10. นางสาววรวรรณ พุกกะพันธุ์
11. นางทัศนีย์ ติละกุล
12. นางอุไรวรรณ แจ้งแสงทอง
13. นางทองดี สังข์ทอง
14. นางจิตจำนง ยืนยง
15. นางสาวกัญญา แหยมสุขสวัสต์
16. นางเพ็ญศรี สละชีพ
17. นางแพรว มณีธนู
18. นางพรจิตร์ เกลือกัน
19. นางประทุม ทินกร ณ อยุธยา
20. นางมาลี อิทธิผล
21. นางเพ็ญศรี สละชีพ
22. นายวิจิตร ไทยนิคม
23. นางสาวลัดดาวัลย์ จิตสวัสดิ์
24. นางทองใบ กิจนิยม
25. นางจอม พุทธรัตน์
26. นางจง รอดบัณฑิต
27. นายประจักษ์ จิตตยากร
28. นางชมภู เกื้อกิจไพบูลย์
29. นางพรรณี ลี้สมบุญ
30. นางแพรว มณีธนู
31. นางวัฒนา สิทธิสา
32. นางสดสี ภู่บำรุง


สาขา ธรรมะ
1. นายบัณฑิต กิตติเขมากร
2. นางคงค์ลักษณ์ ยงค์ธีระพันธ์


สาขา กีฬา
1. นางนฤมล เจริญกุลไพศาล
2. นายสุนีย์ วงศ์ประสงค์
3. นางกิมเตียง กมลวานนท์
4. พันเอกสนิท ศรีทองพิมพ์
5. พันตำรวจโท อาจหาญ


สาขา อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
1. นายหวล ปิ่นประดับ


สาขา ศาสนาและประเพณี
1. นางอุบล จันทรเจษฏา
2. นายเศวต กลิ่นกลั่น


สาขา ภาษาและวรรณกรรม
1. นายวิจิตร สมานตระกูล
2. นายประยุทธ วิเศษศักดิ์
3. นายกองเทพ เคลือบพณิชกุล
4. หม่อมหลวงเบญจมาศ ชุมสาย
5. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
6. นางสมใจ หงศ์ลดารมภ์


สาขา สาธารณสุข
1. นางอรุณี มานประดิษฐ์
2. นายกิตติ เรียงรุ่งโรจน์
3. นางปิ่น หนุนงาม
4. นางชอบ จันทร์แดง
5. นางสุวรรณี สุขเกษม
6. นายวสันต์ เสียงสุวรรณ
7. นางมาณี หมัดละ
8. นางอำไพ บุญมาก
9. นายสง่า วังทอง
10. นางมยุรี ศิริวรรณวรวุฒิ
11. นายถวัลย์ สุวรรณเตมีย์
12. นายวิโรจน์ เมฆฉาย
13. นางอุภาภรณ์ สุขตลอดชีพ
14. นายประทุม ชาติสุวรรณ
15. นายบรรพต โปรยบำรุง
16. นายบุญญสิฐ สอนชัด
17. นายแผ้ว ปานน้อย
18. นางจุฑาพร พร้อมฤกษ์
19. นายสมนึก เหล่าขวัญสถิตย์
20. นางสาวสมาน เรือนแพ
21. นางแน่งน้อย แก่จันทร์


สาขา ศิลปกรรม
1. นางสำเนาว์ สร้อยมาดี
2. นายกุน บุญนก
3. นายโปร่ง วิหารทอง
4. นายศิลป์ วิเศษศิริ
5. นางอัจฉรา ปัญญาธร
6. นางสุจิตต์ อัมพรมหา
7. นายฉาย จ้อยชู
8. นางวรี สมจิตตสกุล
9. นายมนัสนันท์ เบญจรงค์จินดา
10. นายประชา จุลสำลี
11. นายสมจิตต์ อ่วมน้อย
12. เรือเอกคงศักดิ์ วิละรัตน์
13. นายชนก สาคริก
14. นางจินตนา สร้อยกลิ่น
15. นางสาวนิตย์ ศรีลารักษ์
16. นายนิคม ขจรศรีเดช
17. นายสำรวย เปรมใจ
18. นายสมานมิตร เกิดอำแพง
19. นางแน่งน้อย ตัณฑลวรกุล
20. นางราตรี พุกสุวรรณ์
21. นายพิชัย สันติรมย์
22. นายม้วน รัตนาภรณ์
23. นายสมชัย ชำพาลี
24. นางสาวนพรัตน์ พงศ์เพชรลักษณ์
25. พลตรีสมคิด เมตไตรพันธ์
26. นายศิริ รวยดี
27. นายมาโนทย์ มุกสิกบุตร
28. นายจรัล ขุนทอง
29. นายประเสริฐ สุวรรณวัฒน์
30. กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนสุขอนันต์
31. นายสมร เจริญมาก
32. นางสาวสงวนศรี อภิบุณโยภาส
33. นางบุญญาภา พินิจอักษา
34. นายลิขิต จินดาวัฒน์
35. นางสาวอุษา บรรเจดพร
36. นายผงน จั่นสุวรรณ์
37. นายกอก ทองมูล
38. นายบัว อินทะแสน
39. นางมณีรัตน์ เตชะสุรังกูล
40. นางแดง ไกรทอง
41. นายชุบ เต็งรำพึง
42. นางสุดจิตต์ ดุริยประณีต อนันตกุล
43. นายบท ศรีสมัย
44. นายบุญเหลือ แซ่คู
45. นางชนิดา บุนนาค
46. นายชำนาญ กระตุฤกษ์
47. นางอารีย์ เดชขุน
48. นายอุปถัมภ์ จีนสลุต
49. นายอิสรา สิงหรา ณ อยุธยา
50. นายพิพัฒน์ อภัยพลชาญ
51. นางเจริญ กิจราษฏร์
52. นายบุญทรง ลักษณิยานนท์
53. นางสาวจรูญศรี พลเวียง
54. พันเอกสิงห์ นะวะมวัฒน์
55. นายสมคิด ด้วงเงิน
56. กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนสุขอนันต์
57. นางสมทรง ภูวสวัสดิ์
58. นายบุญเล็ก เทียนมณี
59. นายมั่ง บุญถึก
60. นายเลิศ ผดุงวิทย์
61. นายสมจิตต์ อ่วมน้อย


สาขา คหกรรม
1. กลุ่มแม่บ้านตาลเดี่ยว
2. นางสาวขจีรัศม์ ฟักฉิม
3. นางสาววราพร สุรวดี
4. นางถนอมศรี กาลอรุณ
5. นางสุดา ลาวัณย์รัตนากุล
6. นางสาวประจวบ แป้นโต
7. นายประเมิน เกาสละ
8. นางเทอญ ดารกมาศ
9. นางกิ่งพร คงเอี่อมพิธี
10. นางสุนิสา ตันสุทัศน์
11. นางเดือนเพ็ญ ชุมสาย ณ อยุธยา
12. นางเตือนใจ วิทโยดม
13. นางสุนัน ฮงฮุย
14. นางวรรณี นกอยู่
15. นางเตือนใจ วิทโยดม
16. นางสายชล กาญจนาภา
17. นางสาวไพลิน น้อยอำไพ
18. นางสมควร ศุภศิระสตย์กุล
19. จิตต์เนตร คงบัวสอน
20. นางวิภา เหลือนฤมิตรชัย
21. นางกนกวรรณ นักระนาด
22. นางสายหยุด เลี่ยบใย
23. นางเอิญ ภิญชวนิชย์
24. นางสุนัน ฮงฮุย
25. นางจำนงค์ รักราษฏร
26. นางสมหมาย จุฑางกูร
27. นางสงวน พิชัยอุตกฤษฏ์
28. นางอารีย์ ยะคะเสม
29. นางนันทนา จิตรอัมพร
30. นางสุชิน เป้าพูลทอง
31. นางอารีย์ ศศะนาวิน
32. นางละเอียด สหเดช
33. นางน้ำค้าง ขุนสวัสดิ์
34. นางชวนชม บุนนาค
35. นางมณี จันทร์ครอบ
36. นางยิ้ม รุ่งเรือง
37. นางลำจวน พุทธรัตน์
38. นางเติม ศรีสุข
39. นางสาวสมบุญ บุญฉิม
40. นางหลาบ ศรีแจ่มดี
41. นางเชื้อ สมทรง


สาขา เกษตรกรรม
1. นายอีซา ปานเหล็ง
2. นายเข้ม น้อยรักษา
3. นายสนธยา ยุทธนาถจินดา
4. นางชูจิตต์ ตุ้มฉาย
5. นายวรินทร์ เขียวสะอาด
6. นายสวิง เต็งรัง
7. นางสมพร แจ้งจั่น
8. นายสมัย พฤติโรจานิ